ประกันภัยรถยนต์,ต่อประกันรถยนต์,ความเสียหายส่วนแรก โดย Asn Broker (asnbroker)

ความเสียหายส่วนแรก (Deductible/Excess) หมายถึง จำนวนเงินค่าความเสียหายในแต่ละครั้งที่ผู้เอาประกันภัยตกลงรับ ผิดชอบเองในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นจากอุบัติเหตุจากรถ

asnbroker,%bb%c3%d0%a1%d1%b9%c3%b6%c2%b9%b5%ec%aa%d1%e9%b91,%ba%c3%d4%c9%d1%b7%bb%c3%d0%a1%d1%b9%c0%d1%c2%c3%b6%c2%b9%b5%ec,%bb%c3%d0%a1%d1%b9%aa%d1%e9%b93%be%c5%d1%ca,%aa%d1%e9%b92%be%c5%d1%ca.jpg

ค่าเสียหายส่วนแรกแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. ความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ
สำหรับเจ้าของรถที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความระมัดระวังในการขับรถอาจเลือกรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกเอง ซึ่งสามารถเลือกได้ 2 ประเภทความคุ้มครอง คือ คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ (รถเราเอง) และคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถหรือทรัพย์ สินของบุคคลภายนอก) โดยบริษัทประกันภัยจะลดเบี้ยประกันภัยให้เป็นจำนวนเงินตามเงื่อนไขในสัญญา ความเสียหายโดยสมัครใจนี้ เช่น ประกันชั้น3พลัส หรือประกันชั้น2พลัส ถือเป็นตัวอย่างของความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ เพราะกรมธรรมธ์ทั้ง 2 ประเภทนี้หากผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิดจะต้องรับผิดชอบเองส่วนหนึ่งปกติค่าความเสียหายส่วนแรก คือ 2,000 บาท

2. ความเสียหายส่วนแรกในกรณีผิดสัญญา
เป็นความเสียหายที่ไม่ได้เป็นไปตามสัญญากรมธรรมธ์ กล่าวคือกรมธรรม์ระบุอีกแบบหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงเป็นอีกแบบหนึ่ง กรณีเช่นนี้บริษัทประกันยังคงรับผิดในความเสียหาย แต่อาจจะเรียกเก็บเบี้ยเพิ่มกับผู้เอาประกัน เบี้ยเพิ่มส่วนนี้อาจเรียกได้ว่าค่าเสียหายส่วนแรก หรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดเงื่อนไขการรับประกัน ซึ่งมีดังนี้
2.1 กรณีกรมธรรม์แบบระบุชื่อ
โดยปกติเราสามารถระบุผู้ขับขี่ได้ 2 คนเผื่อทำให้เบี้ยถูกลง แต่ตอนเกิดอุบัติเหตุ ปรากฎว่ามีบุคคลอื่นขับขี่ ไม่ใช่ 2 คนที่ระบุไว้ในกรมธรรมธ์แถมเป็นฝ่ายผิดด้วย หากเกิดกรณีนี้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนแรกต่อความเสียหายดังนี้
6,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก
2.2 กรณีใช้รถผิดประเภท
จะเกิดขึ้นในกรณีผู้ซื้อประกัน ซื้อประกันภัยรถยนต์ โดยระบุไว้ว่ารถยนตืดังกล่าวเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล แต่ตอนเกิดอุบัติเหตุพบว่าเอารถไปรับจ้าง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่ารถยนต์ส่วนบุคคล กรณีเช่นนี้ หากบริษัทพิสูจน์ได้ว่ามีการใช้รถยนต์ผิดประเภท ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง ดังนี้ 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก

asnbroker,%bb%c3%d0%a1%d1%b9%aa%d1%e9%b92%be%c5%d1%ca.jpg

ตัวอย่างการเกิดเหตุที่เรียกเก็บและไม่เรียกเก็บค่าความเสียหายส่วนแรก

กรณีไม่เก็บค่าความเสียหายส่วนแรก
1. รถชนกับพาหนะอื่นและแจ้งรายละเอียดคู่กรณีได้
2. รถชนเสา/ชนประตู
3. รถชนต้นไม้ยืนต้น/ชนเสาไฟฟ้า
4. รถชนกำแพง
5. ชนคน
6. ชนสุนัข/ชนสัตว์
7. ชนฟุตบาธ
8. รถพลิกคว่ำ
9. รถชนราวสะพาน
10. รถชนกองดิน หรือชนหน้าผา
11. รถชนป้ายจราจร
12. รถชนทรัพย์สินอื่นใดที่ยึดแน่นตรึงตรากับพื้นดิน

กรณีเรียกเก็บค่าความความเสียหายส่วนแรก

1. รถถูกขีดข่วน/กลั่นแกล้ง
2. หินหรือวัสดุใดกระเด็นใส่
3. เฉี่ยวกิ่งไม้/สายไฟ/ลวดหนาม
4. รถตกหลุม/ครูดพื้นถนน
5. เหยียบตะปู/วัสดุมีคม/ยางฉีก
6. รถถูกละอองสี/หรือวัสดุใดหล่นมาโดน
7. กระจกรถแตก
8. ไถลตกข้างทางไม่พลิกคว่ำ
9. ถูกวัสดุในตัวรถกระแทกหรือกรีดโดน
10. ภัยธรรมชาติ/น้ำท่วม (สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ในบางประเภท โดยไม่ต้องเสียค่าความเสียหายส่วนแรก)
11. รถถูกสัตว์กัดแทะหรือขีดข่วน
12. กรณีอื่นๆ แจ้งเหตุไม่ชัดเจน

หมายเหตุ ตามแนวทางปฎิบัตินี้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ถ้ามีความชัดเจนจากคู่มือตีความของ คปภ.กรณีกรมธรรม์ของลูกค้ายังเป็นฉบับเดิม ให้ใช้เงื่อนไขการเก็บส่วนร่วมเหมือนเดิม

กรณีตัวอย่่าง ค่าความเสียหายส่วนแรก
ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3พลัส, ประักันชั้น3 นั้นจะถูกระบุความเสียหายสวนแรกสำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์ (รถของเราเอง) ไว้ที่ 2,000 บาท จะจ่าย 2,000 นี้ก็ต่อเมื่อเราเป็นฝ่ายผิดและต้องการซ่อมรถตัวเองเท่านั้น

แต่ในปัจจุบันนี้บริษัทประกันภัยได้ออกแผนใหม่ คือ ประกันภัยชั้น 1 ประหยัดซึ่งความคุ้มครองจะเหมือนชั้น 1 ทุกประการพร้อมทั้งยังสามารถเคลมได้ทุกกรณี แต่จะมีค่าเสียหายส่วนแรก ตั้งแต่ 3500-5000 บาท ทั้งนี้ทั้งนั้นก็แล้วแต่แผนและบริษัทประกันภัย

กรณีใช้รถผิดประเภท จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ซื้อประกัน ซื้อรถยนต์โดยระบุไว้ว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล แต่ตอนเกิดอุบัติเหตุพบว่าเอารถไปรับจ้าง ซึ่งนั่นจะมีผลที่ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงกว่าการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล กรณีเช่นนี้ หากบริษัทประกันพิสูจน์ได้ว่ามีการใช้รถยนต์คันดังกล่าวผิดประเภท ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบเอง คือ 2000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก

อธิบายเพิ่มเติม คำว่า Deductible และ Excess ทั้งสองคำนี้ดัดแปลงมาให้หมายความว่า “ค่าเสียหายส่วนแรก” เหมือนกัน Deductible จะมีระบุในกรมธรรม์ แต่คำว่า Excess จะใช้สำหรับการแจ้งเคลม และกรณีมี หรือระบุคู่กรณีชัดเจนไม่ได้

asnbroker,%bb%c3%d0%a1%d1%b9%c0%d1%c2%c3%b6%c2%b9%b5%ec,%20%bb%c3%d0%a1%d1%b9%c3%b6%c2%b9%b5%ec%20,%bb%c3%d0%a1%d1%b9%aa%d1%e9%b91,%20%e2%ba%c3%a1%e0%a1%cd%c3%ec,%20%bb%c3%d0%a1%d1%b9%aa%d1%e9%b92,%bb%c3%d0%a1%d1%b9%aa%d1%e9%b92%be%c5%d1%ca,%20%bb%c3%d0%a1%d1%b9%aa%d1%e9%b93,%bb%c3%d0%a1%d1%b9%aa%d1%e9%b93%be%c5%d1%ca,%20%b5%e8%cd%bb%c3%d0%a1%d1%b9%c3%b6%c2%b9%b5%ec,.jpg

เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง : Asn Broker Blog OK Nation , Asn Broker Exteen , Asn Broker BlogSpot , Asn Broker Blog , Asn Broker Wordpress Blog , Asn Broker Journal

asnbroker.gif
Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License